วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 9 การประมวล

การประมวลผล 
จุดมุ่งหมายการประมวลผล 

1. เพื่อให้การประมวลผลนั้นชัดเจนเข้าใจง่าย  การใช้วิธีนี้จะทำให้ผู้วิเคราะห์ได้เรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการประมวลผลการทำงาน 
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องในการอธิบายในรูปแบบเฉพาะของการประมวลผลระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ 
3. เพื่อตรวจสอบการออกแบบระบบ  โดยการประมวลผลนั้นจะถูกต้องหรือไม่ด้านข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่อง  และออกการรายงานทางหน้าจอ 
ประเภทของการประมวลผลที่ไม่ต้องมีการอธิบาย 
ประเภทของการประมวลผลที่ไม่ต้องมีการอธิบายสามารถแบ่งได้ดังนี้ 
1. การประมวลผลที่ใช้การแทนที่ทางกายภาพในส่วนของการป้อนข้อมูลเข้าระบบหรือการออกรายงานที่เป็นรูปแบบไม่ซับซ้อน  เช่น  การอ่านค่า  การเขียนค่า  เป็นต้น 
2. การประมวลผลที่แทนที่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลซึ่งจะมีรายละเอียดในพจนานุกรมข้อมูล 
3. การประมวลผลที่เป็นการประมวลผลในลักษณะที่เป็นการดึง Function ที่มีอยู่เดิมหรือเป็นการนำโปรแกรมย่อยมาใช้
คำอธิบายการประมวลผล 
คำอธิบายการประมวลผล  “Process Description”  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Minispecs”
จะอธิบาย  รายละเอียดการทำงานภายในโพรเซสหนึ่ง ๆ  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ  โพรเซสนี้เปลี่ยนอินพุตเป็นเอาต์พุตอย่างไร  โพรเซสระดับล่างสุดใน  DFD  จะต้องเขียนคำอธิบายว่ามันทำงานอย่างไร
คำอธิบายการประมวลผลสามารถกำหนดข้อมูลของระบบไว้ในพจนานุกรมข้อมูลและแบ่งการทำงานเป็นหน้าที่ต่างๆ ย่อยลงได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล
วิธีการอธิบายการประมวลผล
  1. ประโยคโครงสร้าง (Structure Sentences)
  2. การตัดสินใจแบบตาราง(Decision Tables)
  3. ผังต้นไม้(Decision Tree)
นักวิเคราะห์ระบบจะเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือใช้ปนกันก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม  แต่ไม่ว่าจะเขียนด้วยวิธีใด ๆ เมื่อเขียนแล้วควรจะมีคุณสมบัติดังนี้

  • เขียนแล้วคำอธิบายนั้นควรจะใช้สื่อสารกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในระบบได้ง่าย  ผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะเป็นผู้ใช้ผู้จัดการ  ผู้ตรวจสอบ
  • เขียนแล้วคำอธิบายนั้นสามารถนำมาตรวจสอบความถูกต้องกับผู้ใช้ได้ง่ายการเขียนเป็นประโยคโครงสร้างอาจจะไม่เหมาะสมถ้าต้องนำมาตรวจสอบกับผู้ใช้เพราะว่า คำอธิบายนั้นจะยาวแบะ  คำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไข  หรือการทำงานซ้ำก็เขียนไม่สะดวก  ตัวอย่างเช่น  เงื่อนไขหรือการทำงานซ้ำก็เขียนไม่สะดวก  ตัวอย่างเช่น  เงื่อนไขที่มี  AND,OR หรือ NOT
  
โดยทั่วไปแล้ววิธีการเขียนคำอธิบายแบบประโยคโครงสร้างเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดควรจะเลือกใช้วิธีเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร อาจจะมากกว่าหนึ่งวิธีก็เป็นไปได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
    1. ความชอบของผู้ใช้
    2. ความชอบของผู้เขียน
    3. ลักษณะการทำงานของโพรเซสเซอร์
ประโยคโครงสร้าง (Structure Sentences)
วิธีนี้ใช้การอธิบายเป็นประโยคเขียนให้มีลักษณะเป็นโครงสร้างคล้าย ๆ การเขียนโปรแกรมโครงสร้าง  การเขียนประโยคโครงสร้างอาจเลือกใช้คำศัพท์ต่าง ๆ กันดังนี้
  • ใช้คำกริยาที่เมื่อทำแล้วมีความหมายว่าได้ผลลัพธ์บางอย่างออกมา  เช่น  “คำนวณ”
สิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือ “เปรียบเทียบ” สิ่งนั้นกับสิ่งนี้  เป็นต้น  คำกริยาที่อาจจะเลือกใช้ได้เช่น
GET COMPUTE
PUT DELETE
FIND VALIDATE
ADD MOVE
SUBTRACT REPLACE
MULTIPLR SET
DIVIDE SORT เป็นต้น
  • ใช้ชื่อข้อมูลเป็นคำนามในประโยค  ตัวอย่างเช่น  วันชำระใบทวงหนี้ รายงานเพื่อเตรียมเงินสด เป็นต้น
  • ใช้คำศัพท์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเช่น “และ” “หรือ”  “เท่ากับ” “ไม่เท่ากับ” “มากกว่า” และ “น้อยกว่า” เป็นต้น
  • ใช้คำที่บอกการเคลื่อนที่ของข้อมูลคล้ายกับคำที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมได้แก่
1. ถ้า........มิฉะนั้น(if…….else…….)
2. กรณี......(case)
3. ทำซ้ำ(Do3…….loop)
4. ทำตามลำดับ (Sequence)

สรุปประโยคโครงสร้าง  ประโยคโครงสร้างและตารางตัดสินใจเป็นเครื่องมือที่ใช้อธิบายการทำงานภายในของ PROCESS ควรจะเลือกวิธีเขียนอธิบายการทำงานที่ดีและเหมาะสมกับงานนั้น ๆ
วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision  Table)
การตัดสินใจแบบตารางเป็นตาราง 2 มิติโดยที่แถวตั้งด้านซ้ายเป็นเงื่อนไขและแถวนอนเป็นรายละเอียดของเงื่อนไขที่ทั้งหมดก่อน  ตามด้วยกิจกรรมทั้งหมดที่มีในการประมวลผลนั้น และช่างถัดมาคือ กฎต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดผลในการกระทำกิจกรรมนั้น
รูปหลักการเขียนตารางตัดสินใจ (Decision Table)
ขั้นตอนการสร้างตารางตัดสินใจ(Decision Table)
  • พิจารณาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ใช้ในการตัดสินใจ  และดูเงื่อนไขในการตัดสินใจว่ามีเงื่อนไขใดบ้าง  เขียนลงในส่วนบนซ้ายมือของตารางเรียงไปตามแนวนอน
  • พิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น เขียนลงในตารางการตัดสินใจด้านซ้ายมือด้านล่างเรียงไปตามแนวนอน
  • ตัดสินใจถึงความสัมพันธ์ของเงื่อนไขที่มีผลต่อกิจกรรมซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นกฎที่ใช้ตัดสินใจให้เกิดการกระทำกิจกรรมนั้น เขียนเป็นกฎแต่ละข้อเรียงไปในแนวตั้ง โดยใส่ “ใช่ (Y) ”เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขนั้นให้ตรงกับแถวของเงื่อนไขนั้น และใส่ “ไม่ (N)” ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนั้นให้ตรงกับแถวของเงื่อนไขนั้น ซึ่งจะสามารถคำนวณได้เป็น 2N โดยที่ N คือจำนวนเงื่อนไข
  • ใส่กากบาท(?) ให้ตรงกันกับกิจกรรมที่จะต้องกระทำ (Action) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขหรือกฎนั้น ถ้าไม่เกิดการกระทำกับกิจกรรมใด ให้ขีดเส้นแทน
ภาพที่ 9.1 แสดงตัวอย่าง ตารางการตัดสินใจ
 
ผังต้นไม้(Decision Tree)
วิธีนี้เป็นการใช้ผังต้นไม้ในการเขียนเส้นทางการตัดสินใจโดยจะเหมือนกิ่งก้านสาขาของต้นไม้โดยมีรากอยู่ทางซ้ายมือ  และกิ่งอยู่ทางขวามือ  ซึ่งจะคล้ายกับตารางการตัดสินใจ  แต่ต่างกันที่รูปแบบเท่านั้น
                     ขั้นตอนการสร้างผังต้นไม้(Decision Tree)
การสร้างผังต้นไม้จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
  • เขียนเริ่มต้นจากรากแตกกิ่งไปตามจำนวนเงื่อนไขที่เป็นไปตามกฎ  โดยพิจารณาเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นในการตัดสินใจเริ่มแรก
  • แตกกิ่งของเงื่อนไขแรกนั้นเป็นเงื่อนไขถัดไป
  • แตกกิ่งของเงื่อนไขต่อไป  จนกระทั่งหมดเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้น
  • เขียนกิ่งของกิจกรรมที่จะต้องกระทำ  เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขจากรากไปปลายกิ่งเงื่อนไขนั้น
                                                                                                                                                                   
 
เทคนิคในการเลือกวิธีการเขียนอธิบายการประมวลผล 
1. เลือกวิธีประโยคโครงสร้างภาษา(Structure Language)เมื่อ
- การประมวลผลนั้นเป็นกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่มีการกระทำซ้ำ
- ต้องการสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับนักวิเคราะห์ระบบในการอธิบายการประมวลผลวิธีนี้จะดีที่สุด
2. เลือกวิธีใช้ตารางการตัดสินใจ(Decision Table)เมื่อ
- เงื่อนไข กิจกรรมที่จะกระทำ และกฎในการประมวลผลมีความซับซ้อนมาก
- เมื่อการประมวลผลนั้นมีกฎต่าง ๆ ที่ขัดแย้ง  และเกิดกรณีฟุ่มเฟือยได้  วิธีนี้จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
3. เลือกวิธีผังต้นไม้ (Decision Table)เมื่อ
- การเกิดเงื่อนไขต่าง ๆ และการกระทำกิจกรรมเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง
- กรณีที่มีเงื่อนไขหลากหลายแบบ  ในการแตกกิ่งที่แตกต่างกันไปคือเงื่อนไขไม่จำกัดเป็นต้น
แผนภาพกระแสข้อมูล 
ภาพที่ 9.3 แสดงแผนภาพกระแสข้อมูล

แผนภาพกระแสข้อมูล (DFD) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเขียนแบบระบบใหม่ 
โดยเฉพาะกับระบบที่ “หน้าที่”












ของระบบมีความสำคัญและมีความสลับซับซ้อนมากกว่าข้อมูลที่ไหลเข้า



กฎการเขียนผัง DFD ที่ถูกต้องมีดังนี้
    • ข้อมูลที่เคลื่อนออกจากแฟ้มข้อมูลจะต้องมีการนำข้อมูลนั้นเข้าสู่แฟ้มข้อมูลก่อน
    • ข้อมูลที่เคลื่อนที่เข้าสู่แฟ้มข้อมูลสุดท้ายแล้ว  จะต้องเป็นข้อมูลที่เคยนำเข้าสู่กระบวนการนั้น
    • ข้อมูลที่เคลื่อนออกจากกระบวนการ  จะต้องเป็นข้อมูลที่เคยนำเข้าสู่กระบวนการนั้นหรือไม่ก็ต้องจัดทำขึ้นภายในกระบวนการนั้น
    • ข้อมูลที่เคลื่อนเข้าสู่กระบวนการจะต้องถูกส่งออกหรือไม่ก็ถูกใช้ประมวลผลภายในกระบวนการนั้น
    • เอนทิตี้ต้นทาง/ปลายทาง  ติดต่อกันเองไม่ได้  ต้องมีกระบวนการอยู่ ณ ข้างใดข้างหนึ่งของเส้นทางเชื่อมต่อข้อมูล
    • แฟ้มข้อมูลจะติดต่อกันเองโดยตรงไม่ได้  เช่นเดียวกันกับ  เอนทิตี้ต้นทางปลายทาง
    • เอนทิตี้และแฟ้มข้อมูลจะติดต่อกันโดยตรงไม่ได้จะต้องผ่านกระบวนการ
ตัวอย่างระบบงานห้องสมุด 
การพัฒนาโปรแกรมระบบงานห้องสมุด  ได้ใช้แผนภาพกระแสข้อมูล  (Data  Flow  Diagram) ในการวิเคราะห์ระบบ  แผนภาพกระแสข้อมูลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ
  • แผนภาพกระแสข้อมูลระบบสูงสุด (Context  Diagram) แสดงเส้นทางของข้อมูลที่เข้าและออกจากแหล่งที่มีผลกระทบต่อระบบ
  • แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Level 1 ) แสดงกระบวนการทำงานหลักของระบบ  ข้อมูลที่เข้าและออกจากกระบวนการทำงานต่าง ๆ
  • แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2  (Data Flow Level 2 )แสดงกระบวนการทำงานโดยจะแสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในแผนภาพกระแสข้อมูลระดับแผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลหรือ DFD สามารถแสดงได้ดังนี้
ภาพที่ 9.4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับ Context Diagram ของระบบงานห้องสมุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น