การติดตั้งระบบ
เมื่อผ่านการขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การวิเคราะห์และการอกแบบระบบ ซึ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ที่มีความสำคัญมากในการที่ระบบจะได้รับการพัฒนาเป็นระบบใหม่หรือไม่ สำหรับขั้นตอนหลังจากผ่านการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาแล้ว คือ การติดตั้งระบบที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่การวางแผน การติดตั้งระบบใหม่ที่ได้ทำการพัฒนามาแล้ว ซึ่งจำได้ศึกษากันในบทนี้
การวางแผนการติดตั้งระบบ
ก่อนที่นักวิเคราะห์ระบบจะนำเอาระบบงานใหม่ไปติดตั้งให้กับผู้ใช้งานนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำผู้แผนงานการติดตั้งระบบแผนงานก่อน (Installation Plan) โดยแผนงานการติดตั้งระบบควรจะต้องครอบคลุมเนื้อสำคัญ คือ
1.ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง จะต้องทำการวางแผนให้ครอบคลุมถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จะติดตั้งทั้งหมดที่ต้องใช้ ไม่ใช่เฉพาะการติดตั้งโปรแกรมของระบบงานใหม่เท่านั้น แต่รวมถึงการติดตั้งฐานข้อมูลและแฟ้มข้อมูลที่จำเป็นและซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ต้องการใช้ร่วมกันด้วย
การติดตั้งซอฟต์แวร์จึงมีระดับตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับซับซ้อน เช่น ระบบสำหรับผู้ใช้คนเดียว (Sigel User) แบบง่ายไปจนถึงระบบที่ซับซ้อน ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทั้งทางระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้เชื่อมกับระบบใหม่ ไปจนถึงการติดตั้งระบบให้ใช้ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างออกไปซึงมีความแตกต่างกันของคุณสมบัติของเครื่อง ทำให้การวางแผนการติดตั้งระบบงานต้องมรการพิจารณารอย่างรอบคอบ และทำรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
ในส่วนของการติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งจะต้องสนใจว่าซอฟต์แวร์อะไรที่จะจะติดตั้งให้กับผู้ใช้และจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การติดตั้งสำเร็จลงได้ นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องคำนึงว่า อะไรบ้างที่จะต้องนำไปทำการติดตั้ง และแผนงาการตั้งระบบนี้จะต้องทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย และกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับทีมงาน และร่วมกันประชุมกันก่อนอีกครั้งก่อนที่จะนำเอาแผนงานที่ได้วางเอาไว้ทำการติดตั้งปฏิบัติจริง
2.วิธีการติดตั้ง เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี่หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่ วิธีการติดตั้งที่นิยมใช้อยู่มีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี คือ
ก่อนที่นักวิเคราะห์ระบบจะนำเอาระบบงานใหม่ไปติดตั้งให้กับผู้ใช้งานนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำผู้แผนงานการติดตั้งระบบแผนงานก่อน (Installation Plan) โดยแผนงานการติดตั้งระบบควรจะต้องครอบคลุมเนื้อสำคัญ คือ
1.ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง จะต้องทำการวางแผนให้ครอบคลุมถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จะติดตั้งทั้งหมดที่ต้องใช้ ไม่ใช่เฉพาะการติดตั้งโปรแกรมของระบบงานใหม่เท่านั้น แต่รวมถึงการติดตั้งฐานข้อมูลและแฟ้มข้อมูลที่จำเป็นและซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ต้องการใช้ร่วมกันด้วย
การติดตั้งซอฟต์แวร์จึงมีระดับตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับซับซ้อน เช่น ระบบสำหรับผู้ใช้คนเดียว (Sigel User) แบบง่ายไปจนถึงระบบที่ซับซ้อน ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทั้งทางระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้เชื่อมกับระบบใหม่ ไปจนถึงการติดตั้งระบบให้ใช้ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างออกไปซึงมีความแตกต่างกันของคุณสมบัติของเครื่อง ทำให้การวางแผนการติดตั้งระบบงานต้องมรการพิจารณารอย่างรอบคอบ และทำรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
ในส่วนของการติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งจะต้องสนใจว่าซอฟต์แวร์อะไรที่จะจะติดตั้งให้กับผู้ใช้และจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การติดตั้งสำเร็จลงได้ นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องคำนึงว่า อะไรบ้างที่จะต้องนำไปทำการติดตั้ง และแผนงาการตั้งระบบนี้จะต้องทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย และกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับทีมงาน และร่วมกันประชุมกันก่อนอีกครั้งก่อนที่จะนำเอาแผนงานที่ได้วางเอาไว้ทำการติดตั้งปฏิบัติจริง
2.วิธีการติดตั้ง เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี่หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่ วิธีการติดตั้งที่นิยมใช้อยู่มีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี คือ
- การติดตั้งแบบทันทีโดยตรง ( direct Changeover)
- การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
- การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased or Gradual conversation)
- การติดตั้งแบบโมดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
- การติดตั้งแบบกระจาย (Distributed conversation)
3.ผลกระทบที่ที่มีต่อองค์กร สิ่งสุดท้ายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องคำนึงถึง คือ ผลกระทบของระบบงานใหม่ที่ทีต่อธุรกิจหรือองค์กร เพราะการติดตั้งระบบงานให้เข้าไปในองค์กรย่อมก้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและผู้ใช้ระบบไม่มากก็น้อย จึงต้องมีการชี้แจงให้ทราบถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปและผลกระทบต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกสับสนในช่วงแรกของการใช้ระบบงานใหม่นั้นให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้นในทุกขั้นต้อนของการวิเคราะห์และออกแบบระบบจึงมักดึงเอาผู้ใช้ระบบเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอยู่ตลอดเลา และในการติดตั้งระบบ ผู้ใช้ยังคงมีส่วนร่วมซึ่งมีความสำคัญต่อการที่ระบบงานใหม่จะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ ผู้ใช้ระบบจะช่วยนักวิเคราะห์ระบบได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างแฟ้มข้อมูล การบันทึกข้อมูลย้อนหลัง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น การให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเจ้าของระบบงานใหม่นี้ด้วย
การคิดต้นทุนในการติดตั้งระบบ
การคิดต้นทุนของระบบจะกระทำในช่วงของการศึกษาระบบ ซึ่งเมื่อนักวิเคราะห์ระบบได้ทำการออกแบบระบบจะต้องคิดโครงสร้างในผลประโยชน์ที่จะได้รับของระบบนั้น ๆ ที่พึงจะมีในระยะเวลาการวิเคราะห์ระบบ จะต้องทำการกำหนดต้นทุนของทั้งระบบ โปรดสังเกตว่าต้นทุนจะจำกัดขอบเขตและชนิดของระบบที่จะถูกต้องติดตั้งและใช้งาน
การคิดต้นทุนของระบบจะกระทำในช่วงของการศึกษาระบบ ซึ่งเมื่อนักวิเคราะห์ระบบได้ทำการออกแบบระบบจะต้องคิดโครงสร้างในผลประโยชน์ที่จะได้รับของระบบนั้น ๆ ที่พึงจะมีในระยะเวลาการวิเคราะห์ระบบ จะต้องทำการกำหนดต้นทุนของทั้งระบบ โปรดสังเกตว่าต้นทุนจะจำกัดขอบเขตและชนิดของระบบที่จะถูกต้องติดตั้งและใช้งาน
ข้อดีในการวิเคราะห์ต้นทุนระบบ
- การวางแผนการวิเคราะห์ต้นทุน เป็นผลลัพธ์ที่มีรากฐานอยู่บนการวิเคราะห์ต้นทุนของโอกาสในการใช้ทรัพยากรไปในจุดประสงค์หนึ่ง ๆ มากกว่าอีกจุดประสงค์หนึ่ง
2. การวางแผนการวิเคราะห์ต้นทุน เป็นสิ่งที่มีรากฐานอยู่บน Cash Flow ที่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องใช้สำหรับ Project หนึ่ง ๆ และต้องใช้จำนวนเงินนั้น ๆ ต่อจากนั้นก็สามารถที่จะวางงบประมาณและจัดเตรียมจำนวนเงินไว้เพื่อใช้จ่ายเมื่อถึงกำหนดเวลา
ระยะเวลาคืนทุน
มาตรฐานโดยทั่วไปที่ใช้กันบ่อย ๆ ให้พิจารณาความสามรถในการทำกำไรของระบบหรือจะเรียกว่า Payback Period ตัวอย่างเช่น ระบบที่ทำการวิเคราะห์และออกแบบใหม่นี้มีมูลค่าต้นทุน 900,000 บาท และองค์การจะมีรายได้เข้ามาประมาณปีละ 300,000 บาท เวลายืนทุนจะเท่ากับ 3 ปี (900,000 / 300,00 = 3 )
มาตรฐานโดยทั่วไปที่ใช้กันบ่อย ๆ ให้พิจารณาความสามรถในการทำกำไรของระบบหรือจะเรียกว่า Payback Period ตัวอย่างเช่น ระบบที่ทำการวิเคราะห์และออกแบบใหม่นี้มีมูลค่าต้นทุน 900,000 บาท และองค์การจะมีรายได้เข้ามาประมาณปีละ 300,000 บาท เวลายืนทุนจะเท่ากับ 3 ปี (900,000 / 300,00 = 3 )
การเปรียบเทียบระบบเดิมกับระบบใหม่
ผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบ ต้นทุนของระบบเดิมกับระบบใหม่นั้นอาจเป็นผลลัพธ์อันเดียวที่สำคัญที่สุดในการเปรียบเทียบต้นทุน การเปรียบเทียบขั้นพื้นฐานหนึ่งต่อหนึ่งของค่าใช้จ่ายในขณะนี้กับในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ขั้นตอนการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในทางเศรษฐกิจของระบบเดิมและระบบใหม่คือ
ผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบ ต้นทุนของระบบเดิมกับระบบใหม่นั้นอาจเป็นผลลัพธ์อันเดียวที่สำคัญที่สุดในการเปรียบเทียบต้นทุน การเปรียบเทียบขั้นพื้นฐานหนึ่งต่อหนึ่งของค่าใช้จ่ายในขณะนี้กับในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ขั้นตอนการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในทางเศรษฐกิจของระบบเดิมและระบบใหม่คือ
- ประเมินค่าระบบใหม่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปของการเปรียบเทียบกันระหว่างระบบเดิมและระบบใหม่
- คำนวณหาค่าใช้จ่ายในการทำงานของระบบเดิม
- คำนวณหาค่าใช้จ่ายในการทำงานของระบบใหม่ ในกรณีนี้การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เที่ยงตรง สามารถจะเกิดได้ในระหว่างระบบเดิมและระบบใหม่
- เปรียบเทียบต้นทุนการปฏิบัติการของระบบเดิมและระบบใหม่ คำนวณค่าใช้จ่ายที่วางไว้ในการลงทุน รวมทั้งค่าติดตั้งระบบในแต่ละครั้งด้วย
ทรัพยากรและต้นทุน
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของทั้งระบบเดิมและระบบใหม่นั้น สามารถที่ประเมินจากเอกสารต่าง ๆ รายงานหรือสรุปผลต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดไว้ในช่วงเวลาของการศึกษาระบบ โดยทั่วไปจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของทั้งระบบเดิมและระบบใหม่นั้น สามารถที่ประเมินจากเอกสารต่าง ๆ รายงานหรือสรุปผลต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดไว้ในช่วงเวลาของการศึกษาระบบ โดยทั่วไปจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ
- ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
- ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ
การทดสอบระบบ
มีจุดประสงค์โดยเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนนำไปใช้งานจริง ประกอบด้วยการทดสอบดังต่อไปนี้
มีจุดประสงค์โดยเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนนำไปใช้งานจริง ประกอบด้วยการทดสอบดังต่อไปนี้
- ทดสอบว่าโปรแกรมสามารถทำงานจริงได้ตามข้อกำหนดและตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่
- ทดสอบเจ้าหน้าที่ว่าพร้อมสำหรับระบบงานนั้นหรือไม่
- ทดสอบผู้ใช้งานระบบ (User) ว่าได้มีการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการใช้งานระบบหรือไม่
วิธีการติดตั้งระบบ
วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี้ หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่ เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ มีการวิธีการติดตั้งที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธีการ และการนำไปใช้นั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์และระบบการทำงานดังนี้คือ
1. การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง (Direct Changeover)
หมายถึง การนำระบบใหม่เข้ามาในองค์กรทันทีตามที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า จะมีการเริ่มใช้งานระบบใหม่เมื่อใด เมื่อนั้นระบบเดิมจะถูกยกเลิกทันที การรติดตั้งแบบนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อระบบงานได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะถูกนำมาติดตั้ง แต่การติดตั้งระบบด้วยวิธีการนี้มีอัตราความเสี่ยงสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น เพราะหากระบบใหม่ได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว หากเกิดความผิดพลาดในการทำงาน จะทำให้การทำงานอื่น ๆ ในองค์กรหยุดชะงัดองค์กรเกิดความเสียหายได้จึงไม่เป็นที่ยมใช้หากสามารที่จะหลีกเลี่ยงได้
2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
หมายถึง การที่ระบบงานเก่ายังคงปฏิบัติงานอยู่ แต่ระบบใหม่ก็เริ่มต้นทำงานพร้อม ๆ กัน วิธีการนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะทำให้อัตราความเสี่ยงของการหยุดชะงัดของงานลดน้อยลง วิธีการนี้เหมาะสมที่สุดเมื่อระบบงานเด่าเป็นระบบงานที่ใช้คนทำ และระบบงานใหม่จะเป็นระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้ระบบงานทั้ง 2 ทำงานควบคู่กันไปในระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการเปรียบเทียบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบงานทั้งสองระบบคล้องจองกัน เมื่อผลลัพธ์ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าถูกต้องในช่วงเวลาหนึ่ง ระบบงานเก่าจึงจะถูกยกเลิกออกไปเหลือเพียงระบบงานใหม่ในองค์กรเท่านั้นที่ยังปฏิบัติงานอยู่ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ การที่จะต้องใช้ระบบ 2 ระบบทำงานไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทำงานสูง ภาระในการทำงานจะตกอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงาน
3. การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased Or Gradual Conversion)
การติดตั้งแบบนี้เป็นการรวมเอาข้อดีของ 2 วิธีการแรกมาใช้ โดยเป็นค่อย ๆ นำเอาบางส่วนของระบบใหม่ซึ่งอาจจะเป็นระบบงานย่อยเข้าไปแทนบางส่วนของระบบงานเดิม วิธีการนี้จะทำให้อัตราเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดลดน้อยลงกว่าการติดตั้งแบบทันที โดยกระทบจากข้อผิดพลาดจะอยู่ในวงจำกัดที่สามารถควบคุมได้ แต่ข้อเสียจะมีตรงเวลาที่ใช้ในการทยอยเอาส่วนต่าง ๆ ของระบบใหม่มาแทนระบบเดิมซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลานาน วิธีการนี้เหมาะกับระบบงานใหญ่ ๆ แต่ไม่เหมาะกับระบบงานเล็ก ๆ ที่ไม่ซับซ้อน
4. การติดตั้งแบบโมลดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
เป็นการแบ่งระบบงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ (Module) และอาศัยการติดตั้งด้วยวิธีทยอยนำระบบใหม่เข้าไปทีละส่วนย่อย ๆ แล้วผู้ใช้ระบบทำการใช้ส่วนย่อย ๆ จนกว่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ระบบ จึงค่อยนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความไม่คุ้นเคยระหว่างผู้ใช้กับระบบไปได้มาก ข้อเสียของระบบนี้คือ ส่วนย่อย ๆ (Module) ที่ให้ผู้ใช้ทดสอบอาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ตามที่คาดไว้ และการติดตั้งแบบนี้อาจต้องใช้เวลานานและต้องการความเอาใจใส่อย่างมากจากนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ระบบด้วย
5. การติดตั้งแบบกระจาย (Distributed Conversion)
เป็นการติดตั้งระบบให้กับธุรกิจที่มีสามาขามากกว่า 1 แห่ง เช่น ธนาคาร บ.ประกันภัย ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การติดตั้งจะเริ่มทำการติดตั้งทีละสาขา โดยจะทำการติดตั้งและทดสอบเป็นอย่างดีแล้วในสาขาแรก จึงค่อย ๆ ทยอยนำไปติดตั้งในสาขาอื่น ๆ ต่อไป ข้อดีของวิธีการนี้คือ ระบบงานสามารถจะได้รับการทดสอบการปฏิบัติงานจริงจนกว่าจะเป็นที่พอใจ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสาขาอื่น ๆ เนื่องจากระบบงานใหม่จะทำงานเฉพาะสาขาที่ทำการติดตั้งเท่านั้น ไม่ได้โยงไปยังสาขาอื่น ๆ วิธีการติดตั้งสำหรับสาขาหนึ่งอาจจะให้ไม่ได้กับอีกสาขาหนึ่งจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง
วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี้ หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่ เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ มีการวิธีการติดตั้งที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธีการ และการนำไปใช้นั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์และระบบการทำงานดังนี้คือ
1. การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง (Direct Changeover)
หมายถึง การนำระบบใหม่เข้ามาในองค์กรทันทีตามที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า จะมีการเริ่มใช้งานระบบใหม่เมื่อใด เมื่อนั้นระบบเดิมจะถูกยกเลิกทันที การรติดตั้งแบบนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อระบบงานได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะถูกนำมาติดตั้ง แต่การติดตั้งระบบด้วยวิธีการนี้มีอัตราความเสี่ยงสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น เพราะหากระบบใหม่ได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว หากเกิดความผิดพลาดในการทำงาน จะทำให้การทำงานอื่น ๆ ในองค์กรหยุดชะงัดองค์กรเกิดความเสียหายได้จึงไม่เป็นที่ยมใช้หากสามารที่จะหลีกเลี่ยงได้
2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
หมายถึง การที่ระบบงานเก่ายังคงปฏิบัติงานอยู่ แต่ระบบใหม่ก็เริ่มต้นทำงานพร้อม ๆ กัน วิธีการนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะทำให้อัตราความเสี่ยงของการหยุดชะงัดของงานลดน้อยลง วิธีการนี้เหมาะสมที่สุดเมื่อระบบงานเด่าเป็นระบบงานที่ใช้คนทำ และระบบงานใหม่จะเป็นระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้ระบบงานทั้ง 2 ทำงานควบคู่กันไปในระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการเปรียบเทียบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบงานทั้งสองระบบคล้องจองกัน เมื่อผลลัพธ์ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าถูกต้องในช่วงเวลาหนึ่ง ระบบงานเก่าจึงจะถูกยกเลิกออกไปเหลือเพียงระบบงานใหม่ในองค์กรเท่านั้นที่ยังปฏิบัติงานอยู่ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ การที่จะต้องใช้ระบบ 2 ระบบทำงานไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทำงานสูง ภาระในการทำงานจะตกอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงาน
3. การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased Or Gradual Conversion)
การติดตั้งแบบนี้เป็นการรวมเอาข้อดีของ 2 วิธีการแรกมาใช้ โดยเป็นค่อย ๆ นำเอาบางส่วนของระบบใหม่ซึ่งอาจจะเป็นระบบงานย่อยเข้าไปแทนบางส่วนของระบบงานเดิม วิธีการนี้จะทำให้อัตราเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดลดน้อยลงกว่าการติดตั้งแบบทันที โดยกระทบจากข้อผิดพลาดจะอยู่ในวงจำกัดที่สามารถควบคุมได้ แต่ข้อเสียจะมีตรงเวลาที่ใช้ในการทยอยเอาส่วนต่าง ๆ ของระบบใหม่มาแทนระบบเดิมซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลานาน วิธีการนี้เหมาะกับระบบงานใหญ่ ๆ แต่ไม่เหมาะกับระบบงานเล็ก ๆ ที่ไม่ซับซ้อน
4. การติดตั้งแบบโมลดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
เป็นการแบ่งระบบงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ (Module) และอาศัยการติดตั้งด้วยวิธีทยอยนำระบบใหม่เข้าไปทีละส่วนย่อย ๆ แล้วผู้ใช้ระบบทำการใช้ส่วนย่อย ๆ จนกว่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ระบบ จึงค่อยนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความไม่คุ้นเคยระหว่างผู้ใช้กับระบบไปได้มาก ข้อเสียของระบบนี้คือ ส่วนย่อย ๆ (Module) ที่ให้ผู้ใช้ทดสอบอาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ตามที่คาดไว้ และการติดตั้งแบบนี้อาจต้องใช้เวลานานและต้องการความเอาใจใส่อย่างมากจากนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ระบบด้วย
5. การติดตั้งแบบกระจาย (Distributed Conversion)
เป็นการติดตั้งระบบให้กับธุรกิจที่มีสามาขามากกว่า 1 แห่ง เช่น ธนาคาร บ.ประกันภัย ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การติดตั้งจะเริ่มทำการติดตั้งทีละสาขา โดยจะทำการติดตั้งและทดสอบเป็นอย่างดีแล้วในสาขาแรก จึงค่อย ๆ ทยอยนำไปติดตั้งในสาขาอื่น ๆ ต่อไป ข้อดีของวิธีการนี้คือ ระบบงานสามารถจะได้รับการทดสอบการปฏิบัติงานจริงจนกว่าจะเป็นที่พอใจ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสาขาอื่น ๆ เนื่องจากระบบงานใหม่จะทำงานเฉพาะสาขาที่ทำการติดตั้งเท่านั้น ไม่ได้โยงไปยังสาขาอื่น ๆ วิธีการติดตั้งสำหรับสาขาหนึ่งอาจจะให้ไม่ได้กับอีกสาขาหนึ่งจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง
การตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงาน
เมื่อแผนงานติดตั้งระบบงานถูกกำหนดขึ้นเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ระบบควรจะตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงานอีกครั้ง โดยสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจ้ะองคำนึงถึงในการตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงานมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการคือ
1.ผลการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ สามารถนำมาช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบในตอนนี้ได้นั่นคือ นักวิเคราะห์ระบบควรจะพิจารราว่าอาจมีผู้ใช้ระบบงานบางคนที่มีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมและเข้าใจในระบบงานได้ดี จะสามารถช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบได้ในการติดตั้ง
2.บันทึกการทดสอบระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบควรตรวจสอบบันทึกการทดสอบระบบงานอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบงานได้รับการทดสอบและแก้ไขทั้งหมดแล้ว
3.ตรวจสอบรายชื่อซอฟต์แวร์ที่จำเป็นแต่ละระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งระบบงานได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องตรวจรายการซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับระบบว่า จะต้องมีแผนงานติดตั้งอย่างครบถ้วนและมีรายละเอียดการติดตั้งอย่างเพียงพอ
4.ตรวจสอบแผนงานการจัดตั้งแฟ้มและการบันทึกข้อมูล ในแผนงานติดตั้งระบบจะต้องมีรายละเอียดการจัดตั้งแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลอย่างพร้อมมูล ในกรณีที่จะต้องมีการบันทึกข้อมูลเข้าไปในแฟ้มหรือฐานข้อมูลในแผนงาน จะต้องระบุชื่อผู้รับผิดชอบในการบันทึกไว้ให้ชัดเจนด้วย
5.คู่มือการติดตั้ง ในการติดตั้งระบบงาน โดยเฉพาะระบบงานที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์จากภายนอกจะต้องมีคู่มือการติดตั้งให้พร้อมเพื่อใช้ในวันติดตั้งระบบ คู่มือการติดตั้งระบบจะต้องระบุถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตั้ง นอกจากนี้หากการติดตั้งไม่ได้ทำโดยนักวิเคราะห์ระบบเองแล้ว การติดตั้งซอฟต์แวร์หนึ่ง ๆ จะต้องมีการกำหนดผู้ที่จะนำไปติดตั้งให้ชัดเจน
เมื่อแผนงานติดตั้งระบบงานถูกกำหนดขึ้นเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ระบบควรจะตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงานอีกครั้ง โดยสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจ้ะองคำนึงถึงในการตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงานมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการคือ
1.ผลการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ สามารถนำมาช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบในตอนนี้ได้นั่นคือ นักวิเคราะห์ระบบควรจะพิจารราว่าอาจมีผู้ใช้ระบบงานบางคนที่มีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมและเข้าใจในระบบงานได้ดี จะสามารถช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบได้ในการติดตั้ง
2.บันทึกการทดสอบระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบควรตรวจสอบบันทึกการทดสอบระบบงานอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบงานได้รับการทดสอบและแก้ไขทั้งหมดแล้ว
3.ตรวจสอบรายชื่อซอฟต์แวร์ที่จำเป็นแต่ละระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งระบบงานได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องตรวจรายการซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับระบบว่า จะต้องมีแผนงานติดตั้งอย่างครบถ้วนและมีรายละเอียดการติดตั้งอย่างเพียงพอ
4.ตรวจสอบแผนงานการจัดตั้งแฟ้มและการบันทึกข้อมูล ในแผนงานติดตั้งระบบจะต้องมีรายละเอียดการจัดตั้งแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลอย่างพร้อมมูล ในกรณีที่จะต้องมีการบันทึกข้อมูลเข้าไปในแฟ้มหรือฐานข้อมูลในแผนงาน จะต้องระบุชื่อผู้รับผิดชอบในการบันทึกไว้ให้ชัดเจนด้วย
5.คู่มือการติดตั้ง ในการติดตั้งระบบงาน โดยเฉพาะระบบงานที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์จากภายนอกจะต้องมีคู่มือการติดตั้งให้พร้อมเพื่อใช้ในวันติดตั้งระบบ คู่มือการติดตั้งระบบจะต้องระบุถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตั้ง นอกจากนี้หากการติดตั้งไม่ได้ทำโดยนักวิเคราะห์ระบบเองแล้ว การติดตั้งซอฟต์แวร์หนึ่ง ๆ จะต้องมีการกำหนดผู้ที่จะนำไปติดตั้งให้ชัดเจน
แผนงานการติดตั้งระบบจะถูกจัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะประกอบด้วยงานต่าง ๆ ที่ต้องทำ วันที่จัดทำการติดตั้งและผู้รับผิดชอบ โดยแผนงานการติดตั้งระบบจะต้องนำเสนอให้ผู้บริหารก่อนเพื่อรอการอนุมัติ
การติดตั้งระบบ
ในขั้นตอนของการติดตั้งระบบนี้ประกอบด้วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องทำอย่างเป็นลำดับคือ
ในขั้นตอนของการติดตั้งระบบนี้ประกอบด้วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องทำอย่างเป็นลำดับคือ
- การเขียนโปรแกรมของระบบใหม่
- ทดสอบโปรแกรม
- การติดตั้งระบบใหม่
สำหรับกระบวนการติดตั้งระบบนี้ จะเริ่มลงมือหลังจากผู้บริหารได้ตกลงยอมรับระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้ประกอบด้วย การติดตั้งระบบใหม่และยกเลิกการทำงานของระบบเก่าในระยะการติดตั้งระบบนี้จะเป็นส่วนที่ยากที่สุดในทุก ๆ งาน ดังนั้นจึงควรเผื่อเวลาสำหรับทำงานในกรณีที่ล่าช้ากว่ากำหนดเอาไว้บ้าง
ในระหว่างการติดตั้งระบบ ปัญหาที่ไม่คาดคิดจากช่วงของการออกแบบระบบมักจะเกิดขึ้นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จึงมีผลทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้ออกแบบไว้ ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรยอมรับการแก้ไขเหล่านั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมไม่ปรับเปลี่ยนเกินความจำเป็น
การติดตั้งระบบประกอบด้วย 3 อย่างด้วยกัน เริ่มจาการเขียนโปรแกรมในขั้นตอนสามารถร่นระยะเวลาให้สั้นลงได้ ถ้าสามารถซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้แทนการการเขียนเองทั้งหมด ขั้นต่อไปคือ การทดสอบโปรแกรมซึ่งประกอบด้วย การทดสอบการทำงานแต่ละโปรแกรม การทดสอบระบบรวมและการทำเอกสารประกอบ ขั้นตอนสุดท้ายคือ การติดตั้งระบบ
ในระหว่างการติดตั้งระบบ ปัญหาที่ไม่คาดคิดจากช่วงของการออกแบบระบบมักจะเกิดขึ้นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จึงมีผลทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้ออกแบบไว้ ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรยอมรับการแก้ไขเหล่านั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมไม่ปรับเปลี่ยนเกินความจำเป็น
การติดตั้งระบบประกอบด้วย 3 อย่างด้วยกัน เริ่มจาการเขียนโปรแกรมในขั้นตอนสามารถร่นระยะเวลาให้สั้นลงได้ ถ้าสามารถซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้แทนการการเขียนเองทั้งหมด ขั้นต่อไปคือ การทดสอบโปรแกรมซึ่งประกอบด้วย การทดสอบการทำงานแต่ละโปรแกรม การทดสอบระบบรวมและการทำเอกสารประกอบ ขั้นตอนสุดท้ายคือ การติดตั้งระบบ
การเขียนโปรแกรมระบบใหม่
ก่อนที่จะเริ่มการเขียนโปรแกรม ควรได้รับการเห็นชอบหรือตกลงกันในระบบที่ได้ออกแบบไว้เสียก่อน รวมทั้งจะพิจารราซื้อโปรแกรมมาใช้ทำงานในบางขั้นตอนของระบบแทนการเขียนทั้งหมด ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมโดยคร่าว ๆ มีดังนี้
1. การทำเอกสารต่าง ๆ ก่อนลงมือเขียนโปรแกรม ได้แก่ Data Flow Diagram Minispecification เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบรวมทั้งพิจารณาความถี่ในการทำงานแต่ละขั้นตอนและภาษาที่เหมาะสม
2. สรุปรูปแบบของข้อมูล (Output) และข้อมูลเข้า (Input) ข้อมูลอกได้แก่ รายงานรูปแบบต่าง ที่ผู้ใช้หรือผู้บริหารต้องการ ส่วนข้อมูลเข้า ได้แก่ หน้าจอ (Screen) สำหรับใส่ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบรายงานต่าง ๆ เหล่านั้น รวมแหล่งที่มาของข้อมูลและการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้
3. เขียนโปรแกรม Flow Chart เพื่อแสดงการทำงานทุกขั้นตอนของโปรแกรม
4. ออกแบบแฟ้มข้อมูล (File Layout) ตามความเหมาะสมในการใช้งาน ลักษณะแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้แก่ แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential) ซึ่งเหมาะสมในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ และไม่ต้องการดึงข้อมูลมาใช้เฉพาะบางระเบียน (Record) อย่างรวดเร็ว ต่อไปคือ แฟ้มข้อมูลดัชนี (index Sequential file) มีลักษณะเหมือนแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับแต่จะมีดัชนี (Index) เพื่อใช้ในกรณีต้องการดึงข้อมูลขึ้นมาใช้เฉพาะบางระเบียนได้ และแฟ้มข้อมูลเข้าถึงโดยตรง (Random – Access File) เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องการดึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว
5. เขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้
6. ทำการ Compile และตรวจสอบความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม โดยอาจจะสมมติข้อมูลง่าย ๆ ไว้ใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบ
7. ทดสอบการทำงานรวมของระบบ โดยใช้ข้อมูลครอบคลุมทุก ๆ เงื่อนไข เริ่มจากโปรแกรมแรกจนถึงโปรแกรมสุดท้าย การทดสอบรวมทุกเงื่อนไขนี้เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละโปรแกรมทำงานต่อเนื่องกันได้อย่างถูกต้อง
8. ทำเอกสารประกอบทุกโปรแกรม ได้แก่ เอกสารที่ใช้ประกอบในการเขียนโปรแกรมและเอกสารวิธีใช้โปรแกรม
ก่อนที่จะเริ่มการเขียนโปรแกรม ควรได้รับการเห็นชอบหรือตกลงกันในระบบที่ได้ออกแบบไว้เสียก่อน รวมทั้งจะพิจารราซื้อโปรแกรมมาใช้ทำงานในบางขั้นตอนของระบบแทนการเขียนทั้งหมด ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมโดยคร่าว ๆ มีดังนี้
1. การทำเอกสารต่าง ๆ ก่อนลงมือเขียนโปรแกรม ได้แก่ Data Flow Diagram Minispecification เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบรวมทั้งพิจารณาความถี่ในการทำงานแต่ละขั้นตอนและภาษาที่เหมาะสม
2. สรุปรูปแบบของข้อมูล (Output) และข้อมูลเข้า (Input) ข้อมูลอกได้แก่ รายงานรูปแบบต่าง ที่ผู้ใช้หรือผู้บริหารต้องการ ส่วนข้อมูลเข้า ได้แก่ หน้าจอ (Screen) สำหรับใส่ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบรายงานต่าง ๆ เหล่านั้น รวมแหล่งที่มาของข้อมูลและการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้
3. เขียนโปรแกรม Flow Chart เพื่อแสดงการทำงานทุกขั้นตอนของโปรแกรม
4. ออกแบบแฟ้มข้อมูล (File Layout) ตามความเหมาะสมในการใช้งาน ลักษณะแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้แก่ แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential) ซึ่งเหมาะสมในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ และไม่ต้องการดึงข้อมูลมาใช้เฉพาะบางระเบียน (Record) อย่างรวดเร็ว ต่อไปคือ แฟ้มข้อมูลดัชนี (index Sequential file) มีลักษณะเหมือนแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับแต่จะมีดัชนี (Index) เพื่อใช้ในกรณีต้องการดึงข้อมูลขึ้นมาใช้เฉพาะบางระเบียนได้ และแฟ้มข้อมูลเข้าถึงโดยตรง (Random – Access File) เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องการดึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว
5. เขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้
6. ทำการ Compile และตรวจสอบความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม โดยอาจจะสมมติข้อมูลง่าย ๆ ไว้ใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบ
7. ทดสอบการทำงานรวมของระบบ โดยใช้ข้อมูลครอบคลุมทุก ๆ เงื่อนไข เริ่มจากโปรแกรมแรกจนถึงโปรแกรมสุดท้าย การทดสอบรวมทุกเงื่อนไขนี้เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละโปรแกรมทำงานต่อเนื่องกันได้อย่างถูกต้อง
8. ทำเอกสารประกอบทุกโปรแกรม ได้แก่ เอกสารที่ใช้ประกอบในการเขียนโปรแกรมและเอกสารวิธีใช้โปรแกรม
การทดสอบโปรแกรม
เป็นการทดสอบโปรแกรมว่ามาสารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องรู้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด โดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนั้น ๆขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการทดสอบโปรแกรมคือ
1. ทดสอบการทำงานของแต่ละโปรแกรม ในขั้นตอนนี้มักจะต้องเสร็จสิ้นในขั้นการเขียนโปรแกรม
2. สร้างข้อมูลสำหรับทดสอบโปแกรม ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นจะต้องควบคุมทุก ๆ กรณีที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานจริง โดยการสร้างชุดข้อมูลนี้โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ใช้และผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นจำเป็นจะต้องร่วมกันคิดชุดข้อมูลขึ้นเพื่อทดสอบการทำงานที่ถูกต้องตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม ทดสอบรูปแบบต่าง ๆ ในการใส่ข้อมูล ทดสอบค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดที่ป้อนเข้าไป
3. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทำงานหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมต่อกันของแต่ละโปแกรมนั้น สามารถทำได้อย่างถูกต้อง
4. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทดสอบท่านหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมกันได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นก็เพื่อทดสอบเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ใช้ระบบว่ามีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและป้อนข้อมูล สุดท้ายก็เพื่อทดสอบว่าแต่ละโปรแกรมที่ทำงานเชื่อมต่อกันนั้นมีความถูกต้องตามคุณสมบัติที่นักวิเคราะห์ระบบเขียนเอาไว้หรือไม่
5. ทดสอบการสำรองแฟ้มข้อมูลและการเริ่มทำงานของระบบใหม่ การทดสอบเหล่านี้มีความจำเป็นในกรณีที่ระบบที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอย่างกะทันหัน ซึ่งการสำรองแฟ้มข้อมูลตามระยะเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้การนำข้อมูลที่เสียไปนั้นกลับขึ้นมาอย่างง่ายดาย รวมทั้งการเริ่มทำงานใหม่ก็ต้องถูกต้องด้วย
6. เขียนเอกสารประกอบโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย
เป็นการทดสอบโปรแกรมว่ามาสารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องรู้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด โดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนั้น ๆขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการทดสอบโปรแกรมคือ
1. ทดสอบการทำงานของแต่ละโปรแกรม ในขั้นตอนนี้มักจะต้องเสร็จสิ้นในขั้นการเขียนโปรแกรม
2. สร้างข้อมูลสำหรับทดสอบโปแกรม ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นจะต้องควบคุมทุก ๆ กรณีที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานจริง โดยการสร้างชุดข้อมูลนี้โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ใช้และผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นจำเป็นจะต้องร่วมกันคิดชุดข้อมูลขึ้นเพื่อทดสอบการทำงานที่ถูกต้องตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม ทดสอบรูปแบบต่าง ๆ ในการใส่ข้อมูล ทดสอบค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดที่ป้อนเข้าไป
3. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทำงานหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมต่อกันของแต่ละโปแกรมนั้น สามารถทำได้อย่างถูกต้อง
4. ทดสอบการทำงานของชุดโปรแกรม ในขั้นตอนการทดสอบท่านหนึ่ง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานเชื่อมกันได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นก็เพื่อทดสอบเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ใช้ระบบว่ามีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและป้อนข้อมูล สุดท้ายก็เพื่อทดสอบว่าแต่ละโปรแกรมที่ทำงานเชื่อมต่อกันนั้นมีความถูกต้องตามคุณสมบัติที่นักวิเคราะห์ระบบเขียนเอาไว้หรือไม่
5. ทดสอบการสำรองแฟ้มข้อมูลและการเริ่มทำงานของระบบใหม่ การทดสอบเหล่านี้มีความจำเป็นในกรณีที่ระบบที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอย่างกะทันหัน ซึ่งการสำรองแฟ้มข้อมูลตามระยะเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้การนำข้อมูลที่เสียไปนั้นกลับขึ้นมาอย่างง่ายดาย รวมทั้งการเริ่มทำงานใหม่ก็ต้องถูกต้องด้วย
6. เขียนเอกสารประกอบโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย
6.1 หมายเหตุที่เขียนขึ้นภายในโปรแกรม เพื่อบอกหน้าที่ของแต่ละชุดคำสั่งแฟ้มข้อมูลที่ใช
้6.2 Flowchart แบบต่าง ๆ หรือ Data Flow Diagram เพื่ออธิบายขั้นตอนของแต่ละโปรแกรม
6.3 ในกรณีที่มีหลาย ๆโปรแกรมประกอบกัน ควรจะมี Flowchart แสดงการทำงานรวมด้วย
6.4 ในโปรแกรมใดที่มีขั้นตอนการทำงานซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการคำนวณ ขั้นตอนการปรับปรุงแฟ้มข้อมูล หรืออื่น ๆ ควรจะใช้ Minispecification เพื่ออธิบายรายละเอียดให้ชัดเจน
6.5 ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก
้6.2 Flowchart แบบต่าง ๆ หรือ Data Flow Diagram เพื่ออธิบายขั้นตอนของแต่ละโปรแกรม
6.3 ในกรณีที่มีหลาย ๆโปรแกรมประกอบกัน ควรจะมี Flowchart แสดงการทำงานรวมด้วย
6.4 ในโปรแกรมใดที่มีขั้นตอนการทำงานซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการคำนวณ ขั้นตอนการปรับปรุงแฟ้มข้อมูล หรืออื่น ๆ ควรจะใช้ Minispecification เพื่ออธิบายรายละเอียดให้ชัดเจน
6.5 ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก
การติดตั้งระบบใหม่
เป็นขั้นการเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมมาเป็นการทำงานในระบบใหม่ งานขั้นนี้ไม่ค่อยซับซ้อนแต่จะใช้เวลานาน โดนทำงานดังต่อไปนี้
เป็นขั้นการเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมมาเป็นการทำงานในระบบใหม่ งานขั้นนี้ไม่ค่อยซับซ้อนแต่จะใช้เวลานาน โดนทำงานดังต่อไปนี้
- เขียนคู่มืออธิบายการใช้ระบบงาน
- จัดทำแบบฟอร์มต่าง ๆ สำหรับใช้กับระบบงานใหม่
- จัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน และผู้ใช้จนมีความเข้าใจ
- เปลี่ยนข้อมูลที่เดิมมีอยู่แล้วให้เป็นข้อมูลระบบใหม่
การเขียนคู่มือการใช้ระบบงาน (Program Documentation ) จะมีรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้ (Users) โดยทั่วไปนั้นเอกสารที่ทำมีอยู่สองประเภทด้วยกันคือ คู่มือผู้ใช้ (User Manual) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้โปรแกรม และคู่มือนักเขียนโปรแกรม (Programmer Manual) จะมีประโยชน์ต่อการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมในอนาคตเอกสารโปรแกรมที่ดีควรประกอบด้วย ข้อปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของโปรแกรม รายละเอียดข้อมูลเข้า (Input) และผลลัพธ์ (Output) ผัง (Flowchart) โปรแกรม (Source Program) ที่คอมพิวเตอร์พิมพ์ออกมา และผลลัพธ์ที่ได้จาการทดสอบโปรแกรม
การเปลี่ยนระบบจากระเดิมมาเป็นระบบใหม่ควรจะต้องทำงานควบคู่กันไปสักระยะหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบงานใหม่ทำงานได้ถูกต้องดีแล้ว จึงจะเลิกการทำงานแบบเดิมหันมาใช้ระบบใหม่อย่างเดียว
จากขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ข้างต้น แม้ผู้ใช้จะดำเนินการใช้ระบบงานใหม่แล้วก็ตาม แต่หน้าที่ของพนักงานคอมพิวเตอร์ยังไม่หมดไป เพราะอาจมีการเลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น รัฐมีการออกกฎการเก็บภาษีแบบใหม่ อันต้องทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงระบบงานตามด้วย ซึ่งการดูและแก้ไขระบบงานคอมพิวเตอร์ในภายหลังนี้ เราเรียกว่า การบำรุงรักษาระบบ (Maintenance)
การเปลี่ยนระบบจากระเดิมมาเป็นระบบใหม่ควรจะต้องทำงานควบคู่กันไปสักระยะหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบงานใหม่ทำงานได้ถูกต้องดีแล้ว จึงจะเลิกการทำงานแบบเดิมหันมาใช้ระบบใหม่อย่างเดียว
จากขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ข้างต้น แม้ผู้ใช้จะดำเนินการใช้ระบบงานใหม่แล้วก็ตาม แต่หน้าที่ของพนักงานคอมพิวเตอร์ยังไม่หมดไป เพราะอาจมีการเลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น รัฐมีการออกกฎการเก็บภาษีแบบใหม่ อันต้องทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงระบบงานตามด้วย ซึ่งการดูและแก้ไขระบบงานคอมพิวเตอร์ในภายหลังนี้ เราเรียกว่า การบำรุงรักษาระบบ (Maintenance)
คำศัพท์ บทที่ 12
การติดตั้งระบบ
การติดตั้งระบบ
Installation Plan
|
แผนงานการติดตั้งระบบงาน
|
Direct Changeover
|
การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง
|
Parallel Conversation
|
การติดตั้งแบบขนาน
|
Phased or Gradual Conversion
|
การติดตั้งแบบทยอยเข้า
|
Modular Prototype
|
การติดตั้งแบบโมดูลาร์โปรโตไทป์
|
Distributed Conversion
|
การติดตั้งแบบกระจาย
|
Index Sequential File
|
แฟ้มข้อมูลดัชนี
|
Random-Access File
|
แฟ้มข้อมูลแบบเข้าถึงโดยตรง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น