การจัดทำเอกสารประกอบการทำงาน
ในระหว่างเตรียมตัวติดตั้งระบบใหม่ให้กับองค์กร หลังจากการทำการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบจนได้ระบบงานใหม่ขึ้นมาอย่างสมบรูณ์ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องให้ความสนใจกับการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่จะให้ผู้ใช้ระบบนำไปใช้ในการอ้างอิงเมื่อระบบงานได้ถูกนำไปใช้งานจริง ซึ่งก็คือ คู่มือการใช้ระบบ นอกจากนี้นักวิเคราะห์อาจจะต้องจัดให้มีการอบรม (Training Program) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ใช้ระบบด้วย
ในระหว่างเตรียมตัวติดตั้งระบบใหม่ให้กับองค์กร หลังจากการทำการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบจนได้ระบบงานใหม่ขึ้นมาอย่างสมบรูณ์ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องให้ความสนใจกับการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่จะให้ผู้ใช้ระบบนำไปใช้ในการอ้างอิงเมื่อระบบงานได้ถูกนำไปใช้งานจริง ซึ่งก็คือ คู่มือการใช้ระบบ นอกจากนี้นักวิเคราะห์อาจจะต้องจัดให้มีการอบรม (Training Program) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ใช้ระบบด้วย
การจัดทำเอกสารสำหรับผู้ใช้
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำเอกสารซึ่งอธิบายรายละเอียดถึงการปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ของระบบทุกระดับ เอกสารสำหรับผู้ใช้ระบบงานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. คู่มือการใช้
2. คู่มือการปฏิบัติการ
3. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
ซึ่งเอกสารแต่ละประเภทจะรองรับจุดประสงค์ที่ใช้อ้างอิงแตกต่างกันออกไป แต่มีข้อที่เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ การจัดเตรียมเอกสารสำหรับผู้ใช้ระบบงาน ต้องพยายามใช้คำพูดหรือคำศัพท์ที่ผู้ใช้ระบบงานทั่วไปเข้าใจ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคให้มากที่สุดเท่าที่จะจำได้ หากจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์เทคนิค ควรจะมีคำอธิบายความหมายให้ผู้อ่านได้ทราบด้วยเสมอ
ผู้ใช้ระบบงาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ผู้ใช้ที่ไม่ควรรู้เกี่ยวกับระบบเลย
2. ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มาบ้าง แต่ต้องใช้เอกสารช่วย เพื่อค้นหาข้อมูลเมื่อต้องการหาข้อมูลบางอย่างเป็นบางครั้งบางคราว
ฉะนั้นเอกสารที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนการทำงานต่างๆ อย่างละเอียด จะเหมาะสมกับผู้ใช้กลุ่มเรามากกว่า ส่วนเอกสารที่เป็นการรวบรวมขั้นตอนการทำงานต่างๆ ที่รวบรวมไว้แบบสั้นๆ ที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว จะเหมาะกับผู้ใช้กลุ่มหลังมากกว่า
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำเอกสารซึ่งอธิบายรายละเอียดถึงการปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ของระบบทุกระดับ เอกสารสำหรับผู้ใช้ระบบงานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. คู่มือการใช้
2. คู่มือการปฏิบัติการ
3. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
ซึ่งเอกสารแต่ละประเภทจะรองรับจุดประสงค์ที่ใช้อ้างอิงแตกต่างกันออกไป แต่มีข้อที่เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ การจัดเตรียมเอกสารสำหรับผู้ใช้ระบบงาน ต้องพยายามใช้คำพูดหรือคำศัพท์ที่ผู้ใช้ระบบงานทั่วไปเข้าใจ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคให้มากที่สุดเท่าที่จะจำได้ หากจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์เทคนิค ควรจะมีคำอธิบายความหมายให้ผู้อ่านได้ทราบด้วยเสมอ
ผู้ใช้ระบบงาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ผู้ใช้ที่ไม่ควรรู้เกี่ยวกับระบบเลย
2. ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มาบ้าง แต่ต้องใช้เอกสารช่วย เพื่อค้นหาข้อมูลเมื่อต้องการหาข้อมูลบางอย่างเป็นบางครั้งบางคราว
ฉะนั้นเอกสารที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนการทำงานต่างๆ อย่างละเอียด จะเหมาะสมกับผู้ใช้กลุ่มเรามากกว่า ส่วนเอกสารที่เป็นการรวบรวมขั้นตอนการทำงานต่างๆ ที่รวบรวมไว้แบบสั้นๆ ที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว จะเหมาะกับผู้ใช้กลุ่มหลังมากกว่า
คู่มือการใช้
เป็นเอกสารสำหรับผู้ใช้ระบบงานที่นำเสนอข้อมูลการปฏิบัติงานต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดของระบบงานนั้น คู่มือการใช้จะประกอบด้วย ตัวอย่างหน้าจอ (Screen Displays) ซึ่งอธิบายว่าผู้ใช้ระบบสามารถกรอกข้อมูลลงในส่วนใดหรือจะดูข้อมูลประเภทนั้นๆ ได้จากตำแหน่งไหนบนจอภาพ เป็นต้น
คู่มือการใช้จะทำหน้าที่อธิบายและนำทางให้กับผู้ใช้ระบบทีละขั้นตอนตามลำดับ เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ข้อผิดพลาดที่แสดงไว้เป็นข้อความในระบบ Error Messages ที่อาจจะเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของระบบซึ่งตัวระบบงานได้ดักเอาไว้นั้น จะต้องแสดงให้ผู้ใช้ระบบทราบและบอกถึงความหมายของข้อความนั้น ๆ โดยละเอียด พร้อมทั้งทำแนะนำว่าผู้ใช้ระบบควรจะทำอย่างไรต่อไปด้วย
คู่มือการใช้จึงเป็นแหล่งการศึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้งานระบบใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบ ดังนั้นหากนักวิเคราะห์ระบบและทีมงานจัดทำเอกสารคู่มือการใช้ได้ดีแล้ว ย่อมจะส่งผลดีให้กับผู้ใช้ระบบยอมรับในตัวระบบได้ดีขึ้นด้วย และยังทำให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
เป็นเอกสารสำหรับผู้ใช้ระบบงานที่นำเสนอข้อมูลการปฏิบัติงานต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดของระบบงานนั้น คู่มือการใช้จะประกอบด้วย ตัวอย่างหน้าจอ (Screen Displays) ซึ่งอธิบายว่าผู้ใช้ระบบสามารถกรอกข้อมูลลงในส่วนใดหรือจะดูข้อมูลประเภทนั้นๆ ได้จากตำแหน่งไหนบนจอภาพ เป็นต้น
คู่มือการใช้จะทำหน้าที่อธิบายและนำทางให้กับผู้ใช้ระบบทีละขั้นตอนตามลำดับ เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ข้อผิดพลาดที่แสดงไว้เป็นข้อความในระบบ Error Messages ที่อาจจะเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของระบบซึ่งตัวระบบงานได้ดักเอาไว้นั้น จะต้องแสดงให้ผู้ใช้ระบบทราบและบอกถึงความหมายของข้อความนั้น ๆ โดยละเอียด พร้อมทั้งทำแนะนำว่าผู้ใช้ระบบควรจะทำอย่างไรต่อไปด้วย
คู่มือการใช้จึงเป็นแหล่งการศึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้งานระบบใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบ ดังนั้นหากนักวิเคราะห์ระบบและทีมงานจัดทำเอกสารคู่มือการใช้ได้ดีแล้ว ย่อมจะส่งผลดีให้กับผู้ใช้ระบบยอมรับในตัวระบบได้ดีขึ้นด้วย และยังทำให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
คู่มือการปฏิบัติงาน
เป็นเอกสารที่ถูกจัดเตรียมขึ้นสำหรับพนักงานหรือทีมงานคอมพิวเตอร์เฉพาะ ดังนั้นจึงจะค่อนข้างจะเกี่ยวโยงในด้านเทคนิคมากกว่าคู่มือการใช้โดยทั่วไป คู่มือการปฏิบัติงานประด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. สรุปขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมดของระบบ
2. Flowchart ของระบบงาน (Details System Flowchart)
3. วิธีการจัดติดตั้งระบบ (Job Program Setup Instructions)
4. ขั้นตอนการสำรองข้อมูลและระบบงาน (Backup Procedure)
5. ขั้นตอนการเรียกคืนข้อมูลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recovery and Restart Procedure)
การสรุปขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมดของระบบในคู่มือปฏิบัติงาน ประกอบด้วย รายละเอียดของขั้นตอนที่สำคัญ ๆ Inputและ Output ของแต่ละขั้นตอนก็ควรจะได้รับการอธิบายให้ได้ความสั้น ๆ แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล (DFD) ควรนำมาใช้แสดงสำหรับขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ด้วย
Flowchart ของระบบควรจะแสดงให้เห็นในทุก ๆ ขั้นตอน และตัวโปรแกรมต่าง ๆ ควรมีการจัดพิมพ์เอกสารออกมา พร้อมชื่อแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ใช้ด้วย
ในบางกรณี ระบบงานจำเป็นต้องมีการจัดตั้งระบบ (Setup) ก่อนซึ่งรายละเอียดการจัดตั้งระบบอาจ ประกอบด้วย
1. การระบุว่าดิสก์หรือเทปอันไหนแบบไหนจะใช้ในการทำออนไลน์
2. แก้ไขวันที่ของโปรแกรม
3. แก้ไขข้อมูลที่ระบบทำการเก็บค่าเอาไว้ในครั้งก่อน
4. การฟอร์แมตเทปหรือดิสก์ขึ้นมาใหม่
5. วิธีการยกเลิกแฟ้มข้อมูลในเทปหรือดิสก์ที่ใช้เดิม
6. ใส่ข้อมูลต่าง ๆ ให้ระบบได้รับทราบก่อนที่จะใช้ เช่น จอภาพเป็นสีหรือขวาดำเครื่องพิมพ์เป็นเครื่องรุ่นไหน หรือตัวโปรแกรมอยู่ในไดเรอทอรี่ใด และแฟ้มข้อมูลอยู่ตำแหน่งหรือไดเรอทอรี่ใดในดิสก์
การสำรองข้อมูลและการเรียกคืนข้อมูลกลับมาเพื่อใช้ใหม่ เป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ระบบจะต้องมี เพื่อให้สามารถรู้สถานการณ์ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระบบ ในขณะที่กำลังทำการปฏิบัติการอยู่
เป็นเอกสารที่ถูกจัดเตรียมขึ้นสำหรับพนักงานหรือทีมงานคอมพิวเตอร์เฉพาะ ดังนั้นจึงจะค่อนข้างจะเกี่ยวโยงในด้านเทคนิคมากกว่าคู่มือการใช้โดยทั่วไป คู่มือการปฏิบัติงานประด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. สรุปขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมดของระบบ
2. Flowchart ของระบบงาน (Details System Flowchart)
3. วิธีการจัดติดตั้งระบบ (Job Program Setup Instructions)
4. ขั้นตอนการสำรองข้อมูลและระบบงาน (Backup Procedure)
5. ขั้นตอนการเรียกคืนข้อมูลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recovery and Restart Procedure)
การสรุปขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมดของระบบในคู่มือปฏิบัติงาน ประกอบด้วย รายละเอียดของขั้นตอนที่สำคัญ ๆ Inputและ Output ของแต่ละขั้นตอนก็ควรจะได้รับการอธิบายให้ได้ความสั้น ๆ แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล (DFD) ควรนำมาใช้แสดงสำหรับขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ด้วย
Flowchart ของระบบควรจะแสดงให้เห็นในทุก ๆ ขั้นตอน และตัวโปรแกรมต่าง ๆ ควรมีการจัดพิมพ์เอกสารออกมา พร้อมชื่อแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ใช้ด้วย
ในบางกรณี ระบบงานจำเป็นต้องมีการจัดตั้งระบบ (Setup) ก่อนซึ่งรายละเอียดการจัดตั้งระบบอาจ ประกอบด้วย
1. การระบุว่าดิสก์หรือเทปอันไหนแบบไหนจะใช้ในการทำออนไลน์
2. แก้ไขวันที่ของโปรแกรม
3. แก้ไขข้อมูลที่ระบบทำการเก็บค่าเอาไว้ในครั้งก่อน
4. การฟอร์แมตเทปหรือดิสก์ขึ้นมาใหม่
5. วิธีการยกเลิกแฟ้มข้อมูลในเทปหรือดิสก์ที่ใช้เดิม
6. ใส่ข้อมูลต่าง ๆ ให้ระบบได้รับทราบก่อนที่จะใช้ เช่น จอภาพเป็นสีหรือขวาดำเครื่องพิมพ์เป็นเครื่องรุ่นไหน หรือตัวโปรแกรมอยู่ในไดเรอทอรี่ใด และแฟ้มข้อมูลอยู่ตำแหน่งหรือไดเรอทอรี่ใดในดิสก์
การสำรองข้อมูลและการเรียกคืนข้อมูลกลับมาเพื่อใช้ใหม่ เป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ระบบจะต้องมี เพื่อให้สามารถรู้สถานการณ์ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระบบ ในขณะที่กำลังทำการปฏิบัติการอยู่
เอกสารประกอบการฝึกอบรม
ในปัจจุบัน เอกสารประกอบการฝึกอบรมให้กับผู้ใช้ระบบ สามารถใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การอบรมจึงเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การนำเอาวีดิโอเทปมาใช้ช่วยในการอบรมแทนการสอนด้วยคนทั้งหมด การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอน (Computer Based Tutorials) การใช้เอกสารและคู่มือประกอบต่าง ๆ ในการอบรม ส่วนการอบรมจะเจาะลึกแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ระบบส่วนใหญ่ ที่จะเป็นผู้ส่งความต้องการใช้กับอบรม
เอกสารประกอบการฝึกอบรม มักจะประกอบไปด้วย ขั้นตอนต่าง ๆ คล้าย ๆ กับคู่มือการใช้แต่จะเพิ่มในส่วนของตัวอย่างและแบบฝึกหัด สำหรับการฝึกฝนการทำงานของระบบตามขั้นตอนเพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถทำความเข้าใจระบบงานที่กำลังอบรมอยู่ได้มากขึ้น จากตัวอย่างและแบบฝึกหัดที่ให้ทำ
ในปัจจุบัน เอกสารประกอบการฝึกอบรมให้กับผู้ใช้ระบบ สามารถใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การอบรมจึงเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การนำเอาวีดิโอเทปมาใช้ช่วยในการอบรมแทนการสอนด้วยคนทั้งหมด การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอน (Computer Based Tutorials) การใช้เอกสารและคู่มือประกอบต่าง ๆ ในการอบรม ส่วนการอบรมจะเจาะลึกแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ระบบส่วนใหญ่ ที่จะเป็นผู้ส่งความต้องการใช้กับอบรม
เอกสารประกอบการฝึกอบรม มักจะประกอบไปด้วย ขั้นตอนต่าง ๆ คล้าย ๆ กับคู่มือการใช้แต่จะเพิ่มในส่วนของตัวอย่างและแบบฝึกหัด สำหรับการฝึกฝนการทำงานของระบบตามขั้นตอนเพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถทำความเข้าใจระบบงานที่กำลังอบรมอยู่ได้มากขึ้น จากตัวอย่างและแบบฝึกหัดที่ให้ทำ
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม
การฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่มากมาย การฝึกอบรมแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความต้องการของผู้ใช้ระบบซึ่งมีมากขึ้น และการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบอาจต้องใช้เทคนิคที่ผิดแผนแตกต่างกันออกไป หากต้องการวางหลักสูตรการฝึกอบรมขึ้นมาจริงแล้ว ผู้วางหลักสูตรก็ควรจะตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้
คำถามดังกล่าว คือ
1. มีอะไรบ้างที่จะต้องเน้นการสอนให้กับผู้ใช้ระบบได้ทราบในหลักสูตรนี้
2. จะทำอย่างไรให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจและเห็นภาพได้
3. ผู้ใช้ระบบมีความรู้พื้นฐานทางระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้นหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
4. จะต้องมีการอบรมระบบคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ระบบหรือไม่
5. มีอะไรบ้างที่จะต้องบรรจุอยู่ในหลักสูตรการฝึกอบรม
6. ใครจะเป็นผู้สอนดำเนินการฝึกอบรม
7. วิธีการประเมินผลการฝึกอบรมของผู้ใช้ระบบที่ได้ผ่านการอบรมไปแล้วมีความรู้ความสามารถความเข้าใจระบบได้ดีตามความต้องการหรือไม่ อย่างไร
การฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่มากมาย การฝึกอบรมแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความต้องการของผู้ใช้ระบบซึ่งมีมากขึ้น และการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบอาจต้องใช้เทคนิคที่ผิดแผนแตกต่างกันออกไป หากต้องการวางหลักสูตรการฝึกอบรมขึ้นมาจริงแล้ว ผู้วางหลักสูตรก็ควรจะตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้
คำถามดังกล่าว คือ
1. มีอะไรบ้างที่จะต้องเน้นการสอนให้กับผู้ใช้ระบบได้ทราบในหลักสูตรนี้
2. จะทำอย่างไรให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจและเห็นภาพได้
3. ผู้ใช้ระบบมีความรู้พื้นฐานทางระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้นหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
4. จะต้องมีการอบรมระบบคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ระบบหรือไม่
5. มีอะไรบ้างที่จะต้องบรรจุอยู่ในหลักสูตรการฝึกอบรม
6. ใครจะเป็นผู้สอนดำเนินการฝึกอบรม
7. วิธีการประเมินผลการฝึกอบรมของผู้ใช้ระบบที่ได้ผ่านการอบรมไปแล้วมีความรู้ความสามารถความเข้าใจระบบได้ดีตามความต้องการหรือไม่ อย่างไร
การฝึกอบรมผู้ใช้
การฝึกอบรมผู้ใช้ให้เข้าใจถึงการใช้งาน และการทำงานของระบบ โดยเฉพาะถ้าระบบนั้นเป็นระบบใหม่ทั้งหมด ฉะนั้นคู่มือการใช้ คู่มือปฏิบัติการ เอกสารประกอบการฝึกอบรมเพียง 3 อย่างคงไม่เพียงพอที่จะให้ผู้ใช้งานในระบบใหม่เริ่มใช้งานได้ด้วยตนเอง จากการอ่านหรือศึกษาเองจากคู่มือทั้ง 3 เล่ม แต่จะต้องอบรมผู้ใช้ทีเดียวหลาย ๆ คนในระยะเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่งซึ่งอาจจะเป็น 3 วัน 5 วันหรือ 7 วัน สำหรับระบบงานที่ไม่ใหญ่มากนัก ถ้าเป็นระบบงานที่ใหญ่มาก ๆ อาจจะต้องใช้เวลามากกว่านั้น เพื่อให้ผู้ใช้ระบบเกิดความคุ้นเคย มีความเข้าใจในระบบงานและสามารถที่จะทำงานในระบบได้ด้วยตนเองมากที่สุด อาจจะไม่สามารถทำงานจนคล่อง แต่สามารถที่จะทำได้ด้วยตนเอง
การฝึกอบรมผู้ใช้ให้เข้าใจถึงการใช้งาน และการทำงานของระบบ โดยเฉพาะถ้าระบบนั้นเป็นระบบใหม่ทั้งหมด ฉะนั้นคู่มือการใช้ คู่มือปฏิบัติการ เอกสารประกอบการฝึกอบรมเพียง 3 อย่างคงไม่เพียงพอที่จะให้ผู้ใช้งานในระบบใหม่เริ่มใช้งานได้ด้วยตนเอง จากการอ่านหรือศึกษาเองจากคู่มือทั้ง 3 เล่ม แต่จะต้องอบรมผู้ใช้ทีเดียวหลาย ๆ คนในระยะเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่งซึ่งอาจจะเป็น 3 วัน 5 วันหรือ 7 วัน สำหรับระบบงานที่ไม่ใหญ่มากนัก ถ้าเป็นระบบงานที่ใหญ่มาก ๆ อาจจะต้องใช้เวลามากกว่านั้น เพื่อให้ผู้ใช้ระบบเกิดความคุ้นเคย มีความเข้าใจในระบบงานและสามารถที่จะทำงานในระบบได้ด้วยตนเองมากที่สุด อาจจะไม่สามารถทำงานจนคล่อง แต่สามารถที่จะทำได้ด้วยตนเอง
ประเภทของการอบรม
การอบรมแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. วิธีการฝึกอบรม สามารถแบ่งออกได้หลายวิธี คือ
1.1 การอบรมทีละคนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเนื่องจากสามารถที่จะชี้แจงแนะนำรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับระบบงานให้ผู้รับการอบรมสามารถเข้าใจได้อย่างสะดวกแต่วิธีนี้จะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ถ้าผู้เข้าอบรมมีจำนวนมาก
1.2 การอบรมแบบกลุ่ม จะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่การชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบงานจะทำได้ไม่ละเอียดและไม่สะดวกเท่ากับการอบรมแบบทีละคน โดยใช้วิธีการชี้แจงและอธิบายถึงระบบงานเหมือนกับการอบรมทีละคนและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ระบบทดลองทำหรือฝึกให้เข้าใจและสอบถาม ในส่วนที่สงสัย ซึ่งอาจจะอธิบายเป็นรายบุคคลต่อไป
1.3 การอบรมแบบลูกโซ่ เป็นการอบรมผู้ใช้ระบบทีละคนตามวิธีแรกกลุ่มละ 3-5 คน แล้วให้ผู้ใช้ระบบที่ได้รับการอบรมกลุ่มนี้ไปทำการอบรมให้กับผู้ใช้ระบบคนอื่น ๆ ต่อไป วิธีการนี้ทำให้ไม่สามารถที่จะควบคุมเรื่องเนื้อหาและวิธีการในการอบรมได้ และการถ่ายทอดต่อไปของผู้ใช้ระบบที่ได้รับการอบรมโดยตรงอาจคลาดเคลื่อนได้ถ้าผู้ใช้ระบบที่รับการอบรมไม่เข้าใจการทำงานอย่างถ่องจำแท้หรือจำอะไรคาดเคลื่อนไป จึงไม่นิยมใช้วิธีนี้
2. ประเภทของการฝึกอบรม สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท คือ
2.1 การอบรมภายในหน่วยงาน เป็นการอบรมที่จัดขึ้นเฉพาะภายใน สำหรับผู้ใช้ระบบงานภายในหน่วยงานหรือองค์การเท่านั้น การอบรมแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น โดยผู้ฝึกสอนจะเป็นจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบงานเป็นอย่างดี และอาจจะมีผู้ช่วยในการฝึกอบรมซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ระบบงานมาก่อน
2.2 การอบรมที่จัดขึ้นโดยผู้ขายระบบ ส่วนใหญ่เป็นการอบรมกันที่บริษัทของผู้ขายไม่ใช่ อบรมที่บริษัทผู้ใช้ระบบ การอบรมแบบนี้ยังสามารถแยกย่อยออกเป็น 2 แบบคือ การอบรมเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งของระบบงานนั้น ๆ ให้กับผู้ใช้ระบบ และ การอบรมเรื่องทั่ว ๆ ไปสำหรับระบบงานนั้น ๆ ซึ่งการอบรมประเภทนี้จะมีการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พร้อมเพรียงมากกว่า
2.3 การอบรมทั่วไป เป็นการอบรมที่มักจะถูกจัดขึ้นโดยผู้ขายระบบเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือระบบงานใหม่ ๆ ที่ผู้ขายระบบมีอยู่ หรืออบรมให้กับผู้ใช้ระบบทั่วไป การอบรมประเภทนี้จะไม่ได้เน้นหนักจุดใดจุดหนึ่งของระบบ แต่มักจะอบรมในลักษณะที่เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปของระบบเท่านั้น
การอบรมแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. วิธีการฝึกอบรม สามารถแบ่งออกได้หลายวิธี คือ
1.1 การอบรมทีละคนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเนื่องจากสามารถที่จะชี้แจงแนะนำรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับระบบงานให้ผู้รับการอบรมสามารถเข้าใจได้อย่างสะดวกแต่วิธีนี้จะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ถ้าผู้เข้าอบรมมีจำนวนมาก
1.2 การอบรมแบบกลุ่ม จะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่การชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบงานจะทำได้ไม่ละเอียดและไม่สะดวกเท่ากับการอบรมแบบทีละคน โดยใช้วิธีการชี้แจงและอธิบายถึงระบบงานเหมือนกับการอบรมทีละคนและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ระบบทดลองทำหรือฝึกให้เข้าใจและสอบถาม ในส่วนที่สงสัย ซึ่งอาจจะอธิบายเป็นรายบุคคลต่อไป
1.3 การอบรมแบบลูกโซ่ เป็นการอบรมผู้ใช้ระบบทีละคนตามวิธีแรกกลุ่มละ 3-5 คน แล้วให้ผู้ใช้ระบบที่ได้รับการอบรมกลุ่มนี้ไปทำการอบรมให้กับผู้ใช้ระบบคนอื่น ๆ ต่อไป วิธีการนี้ทำให้ไม่สามารถที่จะควบคุมเรื่องเนื้อหาและวิธีการในการอบรมได้ และการถ่ายทอดต่อไปของผู้ใช้ระบบที่ได้รับการอบรมโดยตรงอาจคลาดเคลื่อนได้ถ้าผู้ใช้ระบบที่รับการอบรมไม่เข้าใจการทำงานอย่างถ่องจำแท้หรือจำอะไรคาดเคลื่อนไป จึงไม่นิยมใช้วิธีนี้
2. ประเภทของการฝึกอบรม สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท คือ
2.1 การอบรมภายในหน่วยงาน เป็นการอบรมที่จัดขึ้นเฉพาะภายใน สำหรับผู้ใช้ระบบงานภายในหน่วยงานหรือองค์การเท่านั้น การอบรมแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น โดยผู้ฝึกสอนจะเป็นจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบงานเป็นอย่างดี และอาจจะมีผู้ช่วยในการฝึกอบรมซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ระบบงานมาก่อน
2.2 การอบรมที่จัดขึ้นโดยผู้ขายระบบ ส่วนใหญ่เป็นการอบรมกันที่บริษัทของผู้ขายไม่ใช่ อบรมที่บริษัทผู้ใช้ระบบ การอบรมแบบนี้ยังสามารถแยกย่อยออกเป็น 2 แบบคือ การอบรมเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งของระบบงานนั้น ๆ ให้กับผู้ใช้ระบบ และ การอบรมเรื่องทั่ว ๆ ไปสำหรับระบบงานนั้น ๆ ซึ่งการอบรมประเภทนี้จะมีการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พร้อมเพรียงมากกว่า
2.3 การอบรมทั่วไป เป็นการอบรมที่มักจะถูกจัดขึ้นโดยผู้ขายระบบเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือระบบงานใหม่ ๆ ที่ผู้ขายระบบมีอยู่ หรืออบรมให้กับผู้ใช้ระบบทั่วไป การอบรมประเภทนี้จะไม่ได้เน้นหนักจุดใดจุดหนึ่งของระบบ แต่มักจะอบรมในลักษณะที่เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปของระบบเท่านั้น
ลำดับขันตอนของการฝึกอบรม
ในการฝึกอบรมนั้น ๆ สามารถแบ่งลำดับขั้นตอนของการฝึกอบรมออกเป็นขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์และวางแผนก่อนการอบรม (Pre-Training Analysis)
2. การให้การอบรม (Training Delivery)
3. การประเมินผลหลังการอบรม (Post-Training Evaluation)
ในการฝึกอบรมนั้น ๆ สามารถแบ่งลำดับขั้นตอนของการฝึกอบรมออกเป็นขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์และวางแผนก่อนการอบรม (Pre-Training Analysis)
2. การให้การอบรม (Training Delivery)
3. การประเมินผลหลังการอบรม (Post-Training Evaluation)
1. การวิเคราะห์และวางแผนก่อนการอบรม (Pre-Training Analysis) สำหรับลำดับขั้นตอนของการวิเคราะห์และวางแผนก่อนอบรมนั้นเป็นขั้นตอนแรกที่เกิดขึ้นสำหรับผู้วางหลักสูตรการอบรมในการหาความต้องการของผู้ใช้ระบบว่าต้องการให้มีการอบรมในแนวไหน เน้นหนักทางด้านใด รวมทั้งสำรวจระดับความรู้ของผู้ใช้ระบบด้วยว่ามีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาแล้วมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประกอบการวางหลักสูตรเพื่อให้ได้ผลสูงสุด ซึ่งผู้ที่จะทำการอบรมจะทราบว่าควรจะเพิ่มเติมหรืออบรมเน้นในส่วนใดเป็นพิเศษ เพื่อทำให้ผู้ใช้ระบบมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถ เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หลังการฝึกอบรม
กลุ่มผู้ใช้ระบบที่ควรเข้ารับการอบรม
บุคคลต่าง ๆ ในองค์กรที่เป็นผู้ใช้ระบบ อาจจะประกอบด้วยบุคคลที่มีหน้าที่งานที่ไม่เหมือนกัน เช่น พนักงานคีย์ข้อมูล ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก หัวหน้าแผนก เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และมีทีมงานของแต่ละแผนกรวมทั้งทีมงานแผนกคอมพิวเตอร์ ที่ต้องการเข้ารับการฝึกอบรมระบบ งานใหม่ด้วย เมื่อมีบุคคลหลายประเภทซึ่งมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ความต้องการความรู้จากการฝึกอบรมก็ย่อมจะแตกต่างกันไปด้วย ตามแต่สถานะ หน้าที่การปฏิบัติงานหรือตำแหน่ง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมจะต้องจัดกลุ่มและเตรียมการฝึกอบรมให้เหมาะสม กับความต้องการแต่ละประเภทบุคคล ซึ่งสามารถจะรวมกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน หรือจัดตารางให้เข้ารับการอบรมเฉพาะวันหรือเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแต่ละคนก็ได้
กลุ่มผู้ใช้ระบบที่ควรเข้ารับการอบรม
บุคคลต่าง ๆ ในองค์กรที่เป็นผู้ใช้ระบบ อาจจะประกอบด้วยบุคคลที่มีหน้าที่งานที่ไม่เหมือนกัน เช่น พนักงานคีย์ข้อมูล ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก หัวหน้าแผนก เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และมีทีมงานของแต่ละแผนกรวมทั้งทีมงานแผนกคอมพิวเตอร์ ที่ต้องการเข้ารับการฝึกอบรมระบบ งานใหม่ด้วย เมื่อมีบุคคลหลายประเภทซึ่งมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ความต้องการความรู้จากการฝึกอบรมก็ย่อมจะแตกต่างกันไปด้วย ตามแต่สถานะ หน้าที่การปฏิบัติงานหรือตำแหน่ง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมจะต้องจัดกลุ่มและเตรียมการฝึกอบรมให้เหมาะสม กับความต้องการแต่ละประเภทบุคคล ซึ่งสามารถจะรวมกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน หรือจัดตารางให้เข้ารับการอบรมเฉพาะวันหรือเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแต่ละคนก็ได้
2. การให้การอบรม (Training Delivery) นักวิเคราะห์ระบบควรจัดทำเอกสารแนะนำการอบรมขึ้นมา เพื่อแจกให้กับผู้ที่เข้ารับ การฝึกอบรมก่อนที่จะเริ่มมีการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ หากไม่ทำเป็นเอกสารก็ควรจะมีการกล่าวนำเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้จักและเข้าใจเหตุผลที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรม ขอบเขตของการอบรม เนื้อหาคร่าว ๆ ที่จะได้รับและนำไปใช้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ ซึ่งมีหัวข้อที่จะอ้างอิงถึง ดังนี้
2.1 จุดประสงค์ของระบบงานโดยทั่วไป
2.2 สรุปประวัติอย่างสั้น ๆ ว่าทำไมถึงต้องมีการพัฒนาระบบงานนี้
2.3 ระบบงานมีการปฏิบัติงานอย่างไร
2.4 การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบงานที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจ
2.5 ผลตอบแทนหรือประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้จากระบบทั้งที่เห็นได้ชัดและไม่ชัด
คล้าย ๆ กับการปฐมนิเทศก่อนการฝึกอบรมนั้นเอง หลังจากนั้นจึงทำการอบรมตามขึ้นตอนให้แก่ผู้ใช้ระบบ ในระหว่างการฝึกอบรมนั้น สิ่งที่ผู้ให้การฝึกอบรมจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ คือ
? ข้อมูลที่ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องถูกต้องเชื่อถือได้
? เอกสารประกอบการอบรมต่าง ๆ จะต้องเรียบเรียงเป็นลำดับอย่างดี
? แบบฝึกหัดและปัญหาต่าง ๆ ที่ให้ผู้รับการอบรมทำจะต้องเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ ของการอบรมโดยตรง
? การอบรมมีการยกตัวอย่างและแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเพียงพอต่อความเข้าใจ
การฝึกอบรมหรือจะเรียกอย่างธรรมดาว่า การเรียนการสอน ผู้ที่อบรมก็คือ ครูหรืออาจารย์ ส่วนผู้ที่เข้ารับการอบรม ก็คือ นักเรียน ฉะนั้นแล้วเพื่อที่จะให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้มีการวางเอาไว้ ผู้ที่อบรมก็คือครูหรืออาจารย์จะต้องจัดเตรียม เอก
สารประอย่างดีและพร้อมที่จะแจกให้กับผู้ที่เข้ารับการอบรมหรือนักเรียน และ การควบคุมบรรยากาศในการฝึกอบรมไม่ให้น่าเบื่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นเช่นกัน เมื่อมีประสบการณ์แล้วจะให้เข้าใจและรู้ว่าควรหรือไม่ควรทำอะไร และมีวิธีการในการฝึกอบรมที่ดีขึ้น
2.1 จุดประสงค์ของระบบงานโดยทั่วไป
2.2 สรุปประวัติอย่างสั้น ๆ ว่าทำไมถึงต้องมีการพัฒนาระบบงานนี้
2.3 ระบบงานมีการปฏิบัติงานอย่างไร
2.4 การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบงานที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจ
2.5 ผลตอบแทนหรือประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้จากระบบทั้งที่เห็นได้ชัดและไม่ชัด
คล้าย ๆ กับการปฐมนิเทศก่อนการฝึกอบรมนั้นเอง หลังจากนั้นจึงทำการอบรมตามขึ้นตอนให้แก่ผู้ใช้ระบบ ในระหว่างการฝึกอบรมนั้น สิ่งที่ผู้ให้การฝึกอบรมจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ คือ
? ข้อมูลที่ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องถูกต้องเชื่อถือได้
? เอกสารประกอบการอบรมต่าง ๆ จะต้องเรียบเรียงเป็นลำดับอย่างดี
? แบบฝึกหัดและปัญหาต่าง ๆ ที่ให้ผู้รับการอบรมทำจะต้องเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ ของการอบรมโดยตรง
? การอบรมมีการยกตัวอย่างและแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเพียงพอต่อความเข้าใจ
การฝึกอบรมหรือจะเรียกอย่างธรรมดาว่า การเรียนการสอน ผู้ที่อบรมก็คือ ครูหรืออาจารย์ ส่วนผู้ที่เข้ารับการอบรม ก็คือ นักเรียน ฉะนั้นแล้วเพื่อที่จะให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้มีการวางเอาไว้ ผู้ที่อบรมก็คือครูหรืออาจารย์จะต้องจัดเตรียม เอก
สารประอย่างดีและพร้อมที่จะแจกให้กับผู้ที่เข้ารับการอบรมหรือนักเรียน และ การควบคุมบรรยากาศในการฝึกอบรมไม่ให้น่าเบื่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นเช่นกัน เมื่อมีประสบการณ์แล้วจะให้เข้าใจและรู้ว่าควรหรือไม่ควรทำอะไร และมีวิธีการในการฝึกอบรมที่ดีขึ้น
3. การประเมินผลหลังการอบรม (Post-Training Evaluation)เมื่อการอบรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วสิ่งสุดท้ายที่จะต้องทำก็คือ การสำรวจหรือประเมินผลภายหลังการอบรม ขั้นตอนนี้ทำได้โดยการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมทุกระดับ หรือทุกคนก็ได้
วิธีที่ดีที่สุดและนิยมทำกันที่สุด คือ การออกแบบสอบถามความคิดเห็น โดยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้กรอกในสิ่งที่เขาคิด โดยไม่มีการระบุชื่อผู้กรอก เพื่อให้ผู้ทำการฝึกอบรมได้รับคำตอบที่เป็นความคิดเห็นจริง ๆ ส่วนผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ไม่ต้องกังวลถึงผลใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเขา ข้อความสำคัญในแบบสอบถามควรจะครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การอบรมในครั้งนี้มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับความต้องการของท่านหรือไม่
3.2 การอบรมนี้มีผลทำให้ท่านสามารถปฏิบัติงานกับระบบใหม่ได้ดีขึ้นหรือไม่อย่างไร
3.3 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่ามีหัวข้อใดที่ยากต่อการเข้าใจ
3.4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคิดว่ามีหัวข้อใดที่ง่ายต่อการเข้าใจมากที่สุด
3.5 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าควรจะเพิ่มเติมหรือควรเน้นหัวข้อใดเป็นพิเศษ นอกเหนือจากที่ได้ทำการอบรมไปแล้ว
3.6 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการทำงานกับระบบงานใหม่
3.7 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าการอบรมในครั้งนี้ควรจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมสิ่งใด
3.8 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าผู้ทำการฝึกอบรมเป็นอย่างไร
วิธีที่ดีที่สุดและนิยมทำกันที่สุด คือ การออกแบบสอบถามความคิดเห็น โดยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้กรอกในสิ่งที่เขาคิด โดยไม่มีการระบุชื่อผู้กรอก เพื่อให้ผู้ทำการฝึกอบรมได้รับคำตอบที่เป็นความคิดเห็นจริง ๆ ส่วนผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ไม่ต้องกังวลถึงผลใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเขา ข้อความสำคัญในแบบสอบถามควรจะครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การอบรมในครั้งนี้มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับความต้องการของท่านหรือไม่
3.2 การอบรมนี้มีผลทำให้ท่านสามารถปฏิบัติงานกับระบบใหม่ได้ดีขึ้นหรือไม่อย่างไร
3.3 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่ามีหัวข้อใดที่ยากต่อการเข้าใจ
3.4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคิดว่ามีหัวข้อใดที่ง่ายต่อการเข้าใจมากที่สุด
3.5 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าควรจะเพิ่มเติมหรือควรเน้นหัวข้อใดเป็นพิเศษ นอกเหนือจากที่ได้ทำการอบรมไปแล้ว
3.6 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการทำงานกับระบบงานใหม่
3.7 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าการอบรมในครั้งนี้ควรจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมสิ่งใด
3.8 ผู้รับการฝึกอบรมคิดว่าผู้ทำการฝึกอบรมเป็นอย่างไร
ในการประเมินผลการฝึกอบรมครั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบบหรือผู้ทำการอบรมจะต้องมีความเป็นกลางมากที่สุด และยอมที่รับฟังคำแนะนำ ข้อคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อที่จะได้นำเอาคำแนะนำ ข้อคิดเห็น หรือสิ่งที่คิดว่าควรจะมีการปรับปรุงหรือแก้ไขไปทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น สำหรับการฝึกอบรมในครั้งหน้าต่อไป
คำศัพท์ ใบงาน 14
การจัดทำเอกสารปรกอบการทำงาน
การจัดทำเอกสารปรกอบการทำงาน
Training Program
|
การอบรม
|
Details System Flowchart
|
Flowchart ของระบบงาน
|
Job Program Setup Instructions
|
วิธีการจัดตั้งระบบ
|
Backup Procedure
|
ขั้นตอนการสำรองข้อมูลและระบบงาน
|
Recovery and Restart Procedure
|
ขั้นตอนการเรียดคืนข้อมูลเพื่อกลับมาใช้ใหม่
|
Computer Based Tutorials
|
การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอน
|
Pre-Training Analysis
|
การวิเคราะห์และวางแผนก่อนการอบรม
|
Training Delivery
|
การให้การอบรม
|
Post-Training Evaluation
|
การประเมินผลหลังการอบรม
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น